FTTx แบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ FTTN, FTTC, FTTB และ FTTH
· Fiber To The Node (FTTN) หรือ Fiber To The Cabinet (FTTCab) บางครั้งอาจเรียกว่า Fiber To The Neighborhood เป็นการวางสายใยแก้วนำแสงจากชุมสายโทรศัพท์ไปสิ้นสุดยังตู้กระจายสัญญาณโทรคมนาคม (Cabinet) จาก นั้นจึงทำการกระจายสัญญาณผ่านคู่สายโคแอกเชียลไปยังที่พักอาศัยของผู้ใช้ บริการแต่ละราย ในทางปฏิบัติจะมีการติดตั้งคู้กระจายสัญญาณโดยพิจารณาให้ครอบคลุมกลุ่มผู้ ใช้บริการเป้าหมายภายในรัศมี 1,500 เมตร อย่างไรก็ตามหากรัศมีการกระจายสัญญาณของตู้กระจายมีระยะทางต่ำกว่า 300 เมตร ก็จะเรียกสถาปัตยกรรมนี้ว่า Fiber To The Curb (FTTC) ทั้งนี้ผู้ให้บริการสามารถเลือกให้บริการสื่อสารแบบบรอดแบนด์ระหว่างตู้ กระจายสัญญาณกับผู้ใช้บริการ โดยอาศัยโพรโทคอลได้หลากหลายประเภท เช่น Broadband Cable Access ตามมาตรฐาน Data Over Cable Service Interface Specification (DOCSIS) รวมถึงการให้บริการตามมาตรฐาน DSL ทั่วไป สถาปัตยกรรมแบบ FTTN นี้มีจุดประสงค์เพื่อใช้ประโยชน์จากคู่สายโคแอกเชียลหรือแม้กระทั่งสายทอง แดงที่มีการติดตั้งใช้งานอยู่แต่เดิมให้ได้มากที่สุด เป็นการลดต้นทุนในการรื้อเปลี่ยนโครงข่ายกระจายสัญญาณใหม่ แต่ก็ถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่มีอัตราเร็วในการรับส่งข้อมูลไปยังผู้ใช้บริการ ต่ำสุดเมื่อเทียบกับบรรดาเทคโนโลยีในกลุ่ม FTTx ทั้งหมด ทั้งนี้เนื่องจากเป็นการพึ่งพาขีดความสามารถที่มีอยู่จำกัดของคู่สายกระจายที่มีแต่เดิมนั่นเอง
· Fiber To The Curb (FTTC) บางครั้งมีชื่อเรียกว่า Fiber To The Kurb (FTTK) เป็นสถาปัตยกรรมที่มีความแตกต่างจาก FTTN ตรงที่มีการติดตั้งตู้กระจายสัญญาณไว้ใกล้กับกลุ่มผู้ใช้บริการมาก (โดยทั่วไปนิยามไว้ที่ระยะห่างจากกลุ่มผู้ใช้บริการไม่เกิน 300 เมตร) และเนื่องจากยังคงเป็นการใช้ประโยชน์จากคู่สายทองแดงและสายโคแอกเชียลที่มี อยู่แต่เดิมในการกระจายรับส่งสัญญาณไปยังผู้ใช้บริการปลายทาง แม้จะย่นระยะห่างระหว่างตู้กระจายสัญญาณกับผู้ใช้บริการให้ใกล้เข้ามากว่า สถาปัตยกรรม FTTN แต่สถาปัตยกรรมแบบ FTTC ก็ยังคงมีข้อจำกัดในแง่ของอัตราเร็วในการสื่อสารอันเนื่องจากคุณลักษณะของ คู่สายกระจายสัญญาณอยู่ เพียงแต่มีโอกาสที่จะให้บริการได้ด้วยอัตราเร็วที่เหนือกว่า FTTN
· Fiber To The Home (FTTH) และ Fiber To The Building (FTTB) ซึ่งทั้ง 2 สถาปัตยกรรมมักได้รับการเรียกชื่อรวมๆ กันว่า Fiber To The Premise (FTTP) ล้วนเป็นการใช้ประโยชน์จากการวางสายใยแก้วนำแสงจากชุมสายโทรศัพท์ตรงไปสิ้น สุดยังอาคารที่พักอาศัยหรืออาคารสำนักงาน เพื่อลดการเชื่อมต่อกับคู่สายทองแดงหรือโคแอกเชียลที่มีอยู่แต่เดิมโดยสิ้น เชิง ทั้งนี้เน้นให้ใช้ประสิทธิภาพของการรับส่งข้อมูลอัตราเร็วสูงผ่านคู่สายใย แก้วนำแสงให้ได้มากที่สุด โดยข้อแตกต่างระหว่างเทคโนโลยี FTTH และ FTTB อยู่ที่ตำแหน่งของจุดกระจายสัญญาณ ซึ่ง FTTP จะติดตั้งตู้กระจายสัญญาณไว้ ณ จุดใดจุดหนึ่งภายในอาคาร จากนั้นจึงกระจายสัญญาณผ่านสายโคแอกเชียลไปยังผู้บริโภคแต่ละรายภายในอาคาร ในขณะที่สถาปัตยกรรมแบบ FTTH จะแยกกระจายคู่สายใยแก้วนำแสงไปยังห้องหรือตำแหน่งใช้งานของผู้บริโภคแต่ละราย ซึ่งภายในแต่ละจุดนั้นจะมีการติดตั้งกล่องแปลงสัญญาณ (ONT – Optical Network Terminator) จากสัญญาณ แสงไปเป็นสัญญาณไฟฟ้าเพื่อต่อเข้ากับอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ จึงถือว่าสถาปัตยกรรมแบบ FTTH มีการรับประกันอัตราเร็วในการรับส่งข้อมูลไปยังผู้ใช้บริการปลายทางได้สูงที่สุดเทียบกับสถาปัตยกรรมแบบอื่นๆ ในตระกูล FTTx
source:telecomjournal