Wednesday, October 28, 2009

คำศัพท์นักข่าว

  • Master of Ceremony(MC) พิธีกรพิเศษ หรือ พิธีกรผู้คอยประกาศ หรือ นำ พิธีการต่าง ๆ เช่น พิธีการเปิดตัวสินค้าใหม่ จะมี พิธีกร คอยกล่าวต้อนรับ และเชิญแขกขึ้นมาดำเนินการตามกำหนดการ
  • Host / Hostess พิธีกร เช่น คุณเศรษฐา ในรายการ Academy Fantasia
  • News Correspondent ผู้สื่อข่าวพิเศษเฉพาะกิจ เช่น รายงานข่าวกีฬาโอลิมปิกจากต่างประเทศ ซึ่งก็จะมีการทำ research ข้อมูลในเชิงลึกมาเสริมข้อเท็จจริง คือจะมีการเรียบเรียงข่าวมาด้วย นอกจากเป็นผู้การรายงานข่าวอย่างเดียว
  • News Reporter ผู้สื่อข่าวทั่วไป รายงานข่าวทั่วไป
  • News Presenter, Newsreader, Newscaster ผู้อ่านข่าว อ่านรายงานข่าวที่นักข่าวหรือผู้สื่อข่าวส่งมา
  • Anchorman / Anchorwoman ผู้อ่านข่าวตัวหลัก อย่างเช่น คุณสรยุทธ์ ในเรื่องเล่าเช้านี้
  • Weather Forcaster ผู้รายงานข่าวพยากรณ์อากาศ
  • Commentator ผู้พากย์ / บรรยาย การแข่งขันกีฬา หรือเหตุการณ์พิเศษต่างๆ

Wednesday, October 21, 2009

Hybrid Broadcast Broadband TV

Hybrid Broadcast Broadband TV หรือ "HbbTV" เป็นการรวมกันระหว่างการ Broadcast และ Broadband หรือเป็นการรวมกันระหว่าง TV และ Internet โดยใช้การเชื่อมต่อผ่าน TV และ Set-top box พัฒนาโดยใช้มาตรฐานต่างๆ และเทคโนโลยีเว็บไซต์รวมไปถึง OIPF (Open IPTV Forum), CEA, DVB และ W3C

Hybrid user terminal เป็นการผสมผสานภาครับ DVB และการเชื่อมโยง broadband (แบบมีสาย หรือ ไร้สาย ) โดยใช้ Internet browser เช่นเดียวกับโทรทัศน์ หรือ อุปกรณ์ STB
- Hybrid user terminal ปัจจุบันถูกใช้ในรูปแบบบริการ Internet TV เช่น Net TV, VieraCast, Internet@TV, ฯลฯ

Hybrid services เป็นการรวม Mainstream Broadcast Channel ( ทีวี หรือ วิทยุ ) หรือ บางส่วนที่เกี่ยวข้องกับ Broadcast ส่งผ่านเครือข่าย Broadband
- ตัวอย่าง คือ On-demand, Teletext, ข่าวท้องถิ่น, รายงานสภาพอากาศ, ตลาดหลักทรัพย์ ฯลฯ โปรแกรมเหล่านี้ สามารถส่งผ่านช่องทาง Broadcast และ / หรือ ช่องทาง Broadband

Hybrid content หมายถึงโปรแกรมรายการที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ที่รับจาก broadcast channel และ broadband (internet)
- ส่วนประกอบต่างๆของ Broadband อาจมีช่วงเวลาเดียวกับ Mainstream Broadcast Programme หรือไม่ก็ได้

บริการต่างๆ บน HbbTV จะมีภาพและเสียง(A/V) จากการแพร่ภาพในระบบ Digital ส่วนเครื่องรับจะเป็น TV ที่สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ หรือ TV ที่เชื่อมต่อกับ Set-top box ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตอีกต่อหนึ่ง โดยผู้ใช้งานสามารถควบคุมหรือดูเนื้อหาต่างๆ ได้โดยรีโมตเพียงตัวเดียว หรือถ้าเป็น TV จอ Touch Screen ก็สามารถใช้นิ้วสัมผัสไปที่จอภาพได้เลย หรือต่อไปในอนาคตอาจใช้การควบคุมแบบเดียวกับเครื่องเล่นเกม Nintendo Wii (Motion Control) ก็เป็นไปได้
แนวทางการพัฒนานี้ดูเหมือนมาจาก IPTV และ WebTV ที่ได้รับความนิยมในช่วงที่ผ่านมา ซึ่ง HbbTV จะมีการ Interactive กับผู้ชมมากยิ่งขึ้น บริการต่างๆ ที่เป็นไปได้ เช่น Social TV , Shopping, Video on Demand, TV Widgets,

Ref :
HbbTV.org
en.wikipedia.org

Thursday, October 15, 2009

วิธีทำลายแผ่น CD

วิธีทำลายแผ่น CD

วิธีที่ 1 เอาเข้าไมโครเวฟ ตั้งเวลาประมาณ 5 วินาที
วิธีที่ 2 วางรวมกันในถังแล้วราดน้ำเดือดลงไป
วิธีที่ 3 มัดรวมกันเป็นตั้งแล้วเอาเลื่อยไฟฟ้าตัดกลาง
วิธีที่ 4 วางเป็นทางยาว แล้วเอารถวิ่งทับ
วิธีที่ 5 แช่น้ำไว้ สักสามชั่วโมง ตัวที่สกรีนบนแผ่นมันจะร่อนออกมา
วิธีที่ 6 ใช้น้ำมันพืชแผ่นที่เคลือบก็จะพองออก
วิธีที่ 7 เอามีดกรีดด้านบนแผ่น บริเวณศูนย์กลาง ยาว 1 เซ็น
วิธีที่ 8 ใช้กรรไกรอันใหญ่ตัด

*DVD บางแผ่นจะมีสารเคลือบไว้ด้านบนแผ่นทำให้บางวิธีจะใช้ไม่ได้นะ เช่น แช่น้ำ

Tuesday, September 15, 2009

TransferJet

TransferJet

TransferJet คือเทคโนโลยีการส่งข้อมูลระหว่างอุปกรณ์แบบไร้สายความเร็วสูง เทคโนโลยีนี้พัฒนาโดยบริษัท Sony สามารถส่งข้อมูลด้วยความเร็วถึง 375 Mbps ในระยะห่างไม่เกินประมาณ 3 เซนติเมตร โดยส่งสัญญาณในย่านความถี่ 4.5 GHz(4.48 GHz) ใช้ bandwidth 560MHz

Sunday, August 16, 2009

ประวัติความเป็นมาบริษัทที่เกี่ยวข้องกับโลก Online

Hulu.com
Hulu มาจากคำภาษาจีน โดยมีสถานีโทรทัศน์ NBC Universal และสถานีโทรทัศน์ FOX(News Corp เจ้าของ FOX) ได้ร่วมทุนเพื่อให้บริการเว็บไซต์ Video online ที่ชื่อว่า Hulu โดยทดลองใช้ในเดือนตุลาคม 2550 และใช้จริง 12 มีนาคม 2551
เว็บไซต์ Hulu นั้นให้บริการรับชมภาพยนตร์ผ่านเว็บไซต์ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคอนเทนต์มาจากรายการช่วงเวลาไพรมไทม์ที่ฉายในสหรัฐ จากสถานีโทรทัศน์ Fox, NBC และ ABC โดยใช้เทคโนโลยี Flash Video ที่สามารถรับชมได้เฉพาะผู้ชมที่อยู่ในสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ Hulu ยังอนุญาตให้ผู้ใช้งานสามารถเลือกหรือแชร์วิดีโอที่ต้องการให้กับเพื่อนคนอื่นได้ขณะที่เรากำลังชมอยู่ได้
จุดประสงค์ของ Hulu คือ เป็นแหล่งเก็บรวบรวมโปรแกรมรายการคุณภาพสูงแบบออนดีมานด์ผ่านทางออนไลน์ โดยบริการนี้ต่อมาได้จับมือกับ AOL, MSN, MySpace, Facebook, Yahoo!, and Comcast's fancast.com

Youtube.com
Youtube เป็นเว็บไซต์ Video Ondemand ที่ให้ผู้ใช้สามารถ Upload Video ขึ้นไปบนเว็บไซต์เพื่อ Share Video ให้ผู้อื่นรับชม โดยถูกสร้างขึ้นจากพนักงานของ Paypal 3 คน คือ Chad Hurley, Steve Chen และ Jawed Karim หลังจากนั้นได้ถูก Google ซื้อไปในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2006

Comcast
ก่อตั้งในปี 1963 บริษัท Comcast Corporation เป็น Cable Operator รายใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ให้บริการทั้ง Cable TV, Broadband Internet และบริการโทรศัพท์บ้านและโทรศัพท์เชิงพานิชย์

AOL
America Online LLC หรือ AOL ให้บริการอินเทอร์เน็ตและสื่อต่างๆ ซึ่งมี Time Warner เป็นผู้บริหารจัดการ โดย AOL ได้ซื้อกิจการ Time Warner ในปี 2000 ด้วยมูลค่า 160 พันล้านเหรียญ(ก่อนหน้านั้น Time Inc. ควบรวมกับ Warner ปี 1991 เป็น Time Warner) จึงได้กลายเป็น AOL-Time Warner และเปลี่ยนมาเป็น Time Warner ในที่สุด

Time Warner
Time Warner เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการ media และ entertainment โดยมีประวัติดังนี้
ปี 1972 ก่อตั้งในชื่อ Kinney National Company และหลังจากนั้นจึงเปลี่ยนเป็น Warner Communications Inc.
ปี 1991 Time Inc. และ Warner Communications Inc. ควบรวมกิจการกัน และเปลี่ยนชื่อเป็น Time Warner
ปี 2000 AOL ได้ซื้อ Time Warner และได้เปลี่ยนชื่อเป็น AOL Time Warner
ปี 2003 เปลี่ยนชื่อเป็น Time Warner โดยตัดเอาคำว่า AOL ออกไป

บริษัทในเครือของ Time Warner ในปัจจุบันมีดังนี้
AOL, New Line Cinema, Time Inc., HBO, Turner Broadcasting System, The CW Television Network, TheWB.com, Warner Bros. Entertainment, Kids' WB, The CW4Kids, Cartoon Network, Adult Swim, CNN, DC Comics และ Warner Bros. Games.

Friday, July 31, 2009

FTTN, FTTC, FTTB และ FTTH = FTTx

FTTx แบ่งออกเป็น 4 ประเภทคือ FTTN, FTTC, FTTB และ FTTH

· Fiber To The Node (FTTN) หรือ Fiber To The Cabinet (FTTCab) บางครั้งอาจเรียกว่า Fiber To The Neighborhood เป็นการวางสายใยแก้วนำแสงจากชุมสายโทรศัพท์ไปสิ้นสุดยังตู้กระจายสัญญาณโทรคมนาคม (Cabinet) จาก นั้นจึงทำการกระจายสัญญาณผ่านคู่สายโคแอกเชียลไปยังที่พักอาศัยของผู้ใช้ บริการแต่ละราย ในทางปฏิบัติจะมีการติดตั้งคู้กระจายสัญญาณโดยพิจารณาให้ครอบคลุมกลุ่มผู้ ใช้บริการเป้าหมายภายในรัศมี 1,500 เมตร อย่างไรก็ตามหากรัศมีการกระจายสัญญาณของตู้กระจายมีระยะทางต่ำกว่า 300 เมตร ก็จะเรียกสถาปัตยกรรมนี้ว่า Fiber To The Curb (FTTC) ทั้งนี้ผู้ให้บริการสามารถเลือกให้บริการสื่อสารแบบบรอดแบนด์ระหว่างตู้ กระจายสัญญาณกับผู้ใช้บริการ โดยอาศัยโพรโทคอลได้หลากหลายประเภท เช่น Broadband Cable Access ตามมาตรฐาน Data Over Cable Service Interface Specification (DOCSIS) รวมถึงการให้บริการตามมาตรฐาน DSL ทั่วไป สถาปัตยกรรมแบบ FTTN นี้มีจุดประสงค์เพื่อใช้ประโยชน์จากคู่สายโคแอกเชียลหรือแม้กระทั่งสายทอง แดงที่มีการติดตั้งใช้งานอยู่แต่เดิมให้ได้มากที่สุด เป็นการลดต้นทุนในการรื้อเปลี่ยนโครงข่ายกระจายสัญญาณใหม่ แต่ก็ถือว่าเป็นเทคโนโลยีที่มีอัตราเร็วในการรับส่งข้อมูลไปยังผู้ใช้บริการ ต่ำสุดเมื่อเทียบกับบรรดาเทคโนโลยีในกลุ่ม FTTx ทั้งหมด ทั้งนี้เนื่องจากเป็นการพึ่งพาขีดความสามารถที่มีอยู่จำกัดของคู่สายกระจายที่มีแต่เดิมนั่นเอง

· Fiber To The Curb (FTTC) บางครั้งมีชื่อเรียกว่า Fiber To The Kurb (FTTK) เป็นสถาปัตยกรรมที่มีความแตกต่างจาก FTTN ตรงที่มีการติดตั้งตู้กระจายสัญญาณไว้ใกล้กับกลุ่มผู้ใช้บริการมาก (โดยทั่วไปนิยามไว้ที่ระยะห่างจากกลุ่มผู้ใช้บริการไม่เกิน 300 เมตร) และเนื่องจากยังคงเป็นการใช้ประโยชน์จากคู่สายทองแดงและสายโคแอกเชียลที่มี อยู่แต่เดิมในการกระจายรับส่งสัญญาณไปยังผู้ใช้บริการปลายทาง แม้จะย่นระยะห่างระหว่างตู้กระจายสัญญาณกับผู้ใช้บริการให้ใกล้เข้ามากว่า สถาปัตยกรรม FTTN แต่สถาปัตยกรรมแบบ FTTC ก็ยังคงมีข้อจำกัดในแง่ของอัตราเร็วในการสื่อสารอันเนื่องจากคุณลักษณะของ คู่สายกระจายสัญญาณอยู่ เพียงแต่มีโอกาสที่จะให้บริการได้ด้วยอัตราเร็วที่เหนือกว่า FTTN

· Fiber To The Home (FTTH) และ Fiber To The Building (FTTB) ซึ่งทั้ง 2 สถาปัตยกรรมมักได้รับการเรียกชื่อรวมๆ กันว่า Fiber To The Premise (FTTP) ล้วนเป็นการใช้ประโยชน์จากการวางสายใยแก้วนำแสงจากชุมสายโทรศัพท์ตรงไปสิ้น สุดยังอาคารที่พักอาศัยหรืออาคารสำนักงาน เพื่อลดการเชื่อมต่อกับคู่สายทองแดงหรือโคแอกเชียลที่มีอยู่แต่เดิมโดยสิ้น เชิง ทั้งนี้เน้นให้ใช้ประสิทธิภาพของการรับส่งข้อมูลอัตราเร็วสูงผ่านคู่สายใย แก้วนำแสงให้ได้มากที่สุด โดยข้อแตกต่างระหว่างเทคโนโลยี FTTH และ FTTB อยู่ที่ตำแหน่งของจุดกระจายสัญญาณ ซึ่ง FTTP จะติดตั้งตู้กระจายสัญญาณไว้ ณ จุดใดจุดหนึ่งภายในอาคาร จากนั้นจึงกระจายสัญญาณผ่านสายโคแอกเชียลไปยังผู้บริโภคแต่ละรายภายในอาคาร ในขณะที่สถาปัตยกรรมแบบ FTTH จะแยกกระจายคู่สายใยแก้วนำแสงไปยังห้องหรือตำแหน่งใช้งานของผู้บริโภคแต่ละราย ซึ่งภายในแต่ละจุดนั้นจะมีการติดตั้งกล่องแปลงสัญญาณ (ONT – Optical Network Terminator) จากสัญญาณ แสงไปเป็นสัญญาณไฟฟ้าเพื่อต่อเข้ากับอุปกรณ์สื่อสารต่างๆ จึงถือว่าสถาปัตยกรรมแบบ FTTH มีการรับประกันอัตราเร็วในการรับส่งข้อมูลไปยังผู้ใช้บริการปลายทางได้สูงที่สุดเทียบกับสถาปัตยกรรมแบบอื่นๆ ในตระกูล FTTx

source:telecomjournal

Saturday, April 25, 2009

mAh คืออะไร

mAh คือ m = มิลลิ , A = แอมป์ , h = ชั่วโมง หมายถึง ถ่านก้อนนี้สามารถจ่ายกระแสได้ กี่มิลิแอมป์ ใน 1 ชั่วโมง (เป็นความจุไฟ) (กระแสไฟ)

V คือ Volt เป็นค่าความต่างศักดิ์ไฟฟ้า คล้ายๆแรงดันไฟ นึกภาพดูถึง แรงดันน้ำ แรงดันลม ความดันเลือด

แล้วทั้ง 2 อย่างมีผลอย่างไรกับความสว่าง และเวลาที่ใช้ครับ ฮืม
1.ความสว่าง
ปกติ หลอดไฟทั่วไปจะกินไฟเป็น วัตต์(W) ใช่มั้ยครับ อย่างหลอดผอมที่อยู่บนเพดานบ้านทั่วไปก็ 36W หลอดตะเกียบประหยัดไฟก็ 9W ,13W หลอดใส้ 25W, 40W ,60W เป็นต้น หลอด LED ก็เช่นกันครับ

ทีนี้มาดูว่า หน่วยวัตต์(W) เกิดจากอะไร เค้าใช้ค่า กระแสไฟ(I) คูณด้วย ค่าความต่างศักดิ์(V) หรือ IxV
W=IV
I มีหนวยเป็น A หรือ แอมป์, 1A = 1000mA (มิลลิแอมป์)
V มีหน่วยเป็น Volt
W สูง หลอดไฟก็จะสว่างมาก แต่หลอดไฟแต่ละหลอดจะทนค่าแรงดันไฟฟ้าหรือความต่างศักดิ์ได้จำกัด (Vf) ซึ่งถ้าแรงดันสูงเกินหลอดก็จะเสีย หรือ หลอดใส้ก็จะขาด

ปกติหลอด LED ยี่ห้อ CREE-XP ทั่วไปจะเป็นหลอด 3W ซึ่งจะมีระบุว่าใช้ค่า Vf ได้ไม่เกินเท่าไร โดยสามารถใช้กำลังไฟต่ำกว่าได้เช่น 1W, 2W ปริมาณแสงก็จะสูงหรือต่ำตามจำนวนวัตต์

แต่ที่ไฟฉายบางกระบอกสามารถ ใช้ถ่านที่มีค่าความต่างศักดิ์ มากๆได้(ใส่ถ่านได้หลายก้อน) เพราะ ว่ามีวงจรอิเล็กโทนิกควบคุมการจ่ายไฟให้หลอดไฟครับ เพราะฉะนั้นดูว่าไฟฉายใช้ถ่านชนิดไหนได้บ้างให้ดูจากรายละเอียดที่ผู้ ผลิตบอกไว้ครับ

มายกตัวอย่างกันครับ เช่น

-ใช้ถ่าน ชาร์ตNi-MH ขนาด AA 1.2v ถ้าไฟฉายกินไฟ 1วัตต์ ก็จะใช้กระแสไฟเท่าไร?
W=1
V= 1.2
I= ?
จากสูตร W=IV
1= 1.5xI
1/1.5 = I
0.833 = I

ตอบ ใช้กระแสไป 0.833 A หรือ 833mA (มิลลิแอมป์) ต่อชั่วโมง

(ต่อ) ถ้าเกิดสมมุติว่าถ่านที่เราใช้มีความจุ 2000mA เราก็จะรู้ว่าสามารถใช้ได้นานเท่าไรโดย 1ชั่วโมงใช้ไป 833 ถ้ามีอยู่ 2000 จะใช้ได้กี่ชั่วโมง เอา 2000 ตั้ง หารด้วย 833
2000/833 = 2.4 ชั่วโมง หรือ 2ชั่วโมง24นาที


2. ผลกับเวลาที่ใช้

ดูตรงความจุของถ่าน(mA) และ ความต่างศักดิ์ (v)

ทั้งสองอย่างมีผลกับเวลา หรือ runtime ครับ เพราะว่า หลอดไฟกินไฟเป็น วัตต์ (W) และ W = IV

1. ถ้าความต่างศักดิ์ Volt (v) สูง เช่นถ่าน Li-on 3.0v หรือแบบ ชาร์จได้ 3.7v หรือใช้ถ่านหลายก้อน ผลก็คือ ค่า V สูง

W = I V(สูง)

เมื่อ V สูง แต่ การกินไฟวัตต์ของหลอดไฟยังคงที่ Wคงที่ ดังนั้นก็จะกินกระแสไฟจากถ่านน้อยลง Iลดลง

W(คงที่) = Iลดลง V(สูง)

กินกระแสไฟน้อยลง ถ่านก็จะใช้ได้นานขึ้น

2. ถ้าความจุของถ่านสูง นึกภาพเหมือนกระติกน้ำ ถ้าเิกิดเรากินน้ำปกติ แล้วเปลี่ยนเป็นกระติกน้ำที่ใหญ่ขึ้น ก็จะกินได้นานขึ้น

Wคงที่ = I คงที่ Vคงที่

กินกระแสเท่าเดิม แต่ถ่านมีความจุที่สูงขึ้น (mAh) เช่น ถ่านความจุ 1000 mAh กับ ถ่านความจุ 2000mAh

ถ่านที่มีความจุ 2000mAh ย่อมใช้งานได้นานกว่าครับ


ชนิดของถ่าน
- ชนิดของถ่านมีผลกับประสิทธิภาพการใช้งานด้วยครับ ถ่านแต่ละชนิดกันจะมีความสามารถในการจ่ายกระแสไฟในระยะเวลาสั้นๆ ได้ไม่เท่ากัน

ถ่าน Li-on จะจ่ายกระแสเป็นระยะเวลาสั้นๆได้ประมาณ 2-3เท่าของความจุ (C) เช่นมีความจุ 700mA ก็จะจ่ายกระแสกับอุปกรณ์ที่ใช้กระแส 1400mAh ได้

ถ่าน Ni-MH จะจ่ายกระแสเป็นระยะเวลาสั้นๆ ได้ประมาณ 5 เท่าของความจุ (C) เช่น ความจุ2000mA จ่ายกระแสได้ 10000mAh

ถ่าน Ni-Cd ถ่านชาร์จสมัยแรก จะจ่ายกระแสไฟเป็นระยะเวลาสั้นๆได้ดีมากที่สุดครับ 30-50เท่า เหมาะกับใช้งานหนักๆเช่น พวกงานมอเตอร์ สว่านไขควงมือถือ แต่ความจุจะไม่มาก แต่ถ่านชนิดนี้มีข้อเสียคือมีหน่วยความจำถ้าหากเราชาร์ตไฟโดยที่ถ่านยังไม่ หมด จะทำให้ถ่านเสื่อมสภาพเร็วมาก

ถ่านอังคาไรด์ จ่ายกระแสเป็นระยะเวลาสั้นๆได้ไม่ดีครับ ถ้าอุปกรณ์ที่กินกระแสไฟมากอย่างเช่นกล้องดิจิตอล หรือไฟฉายที่กินไฟมากๆ ถ่านจะหมดเร็วกว่าปกติ ทั้งๆที่ตัวถ่านเองมีความจุ 1300-1700mA แต่ถ้าเราเอาไปใช้กับอุปกรณ์ที่กินไฟไม่มาก เช่น เครื่องคิดเลข, นาฬิกา, รีโมดคอนโทร ก็จะใช้ได้เป็นระยะเวลานานเต็มความจุ

- ลองสังเกตดูว่า เมื่อใช้แล้วถ่านหมด พอปิดไปแล้ว แล้วเปิดใ้ช้ใหม่ ก็กลับมาใช้ได้อีกนิดนึ่ง
- มันจะคล้ายๆกับพวกแบตมือถือ ที่เสื่อมสภาพ เวลาชาร์จเต็มระดับถ่านในหน้าจอจะแจ้งว่าเต็ม แต่พอมีคนโทรเข้าหรือโทรออก แบตจะหมดภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว ทั้งๆที่แบตเต็มอยู่ เพราะว่าแบตคายประจุได้ไม่ดีแล้วถึงมีประจุอยู่ แต่คายประจุจำนวนมากๆในระยะเวลาสั้นๆได้ไม่ดี

ลองนึกภาพดูถึงห้อง เรียนนะครับ เวลาหมดเวลาเรียนเสียงอ๊อดพักเที่ยง นักเรียนวิ่งกรูกันออกมาจากประตูได้ในเวลาแป๋บเดียว แต่ถ้าเิกิดเราสั่งให้นักเรียนแบ่งเป็นกลุ่มๆ 10 คน จับมือกันไว้ เวลาวิ่งออกจากประตูก็จะลำบากขึ้น เปรียบเหมือนการคายประจุไฟครับ

ส่วน ถ่านZine หรือถ่านธรรมดานั้น ยิ่งคายประจุในระยะเวลาสั้นๆได้ไม่ดีที่สุดครับ ใช้แล้วหมดเร็วมากๆ จริงๆถ่านพวกนี้จะแบ่งเป็น 2 อย่างนะครับ ถ่านพวก Duty ใช้งานหนัก กับถ่าน Long live time(ผมจำชื่อไม่ไ่ด้) พวกนี้คายประจุได้น้อยแต่จะใช้ได้นานใส่พวกรีโมส


การคายประจุของตัวเองของถ่านก็มีผลต่อใช้ได้นานหรือไม่นานด้วยครับ
- พวกถ่านชาร์จชนิด Ni-MH แบบเก่า จะคายประจุตัวเองทุกวันวันละ 1% สมมุติว่าชาร์ตเสร็จแล้วทิ้งไว้ซัก 1 เืดือน แล้วเอามาใช้ จะรู้สึกว่าถ่านหมดเร็วกว่าปกติ แต่เดียวนี้จะมีถ่านรุ่นใหม่ที่คายประจุช้าเช่นยี่ห้อ enloop

-ถ่านพวก Li-on จะไม่ค่อยคายประจุตัวเองสามารถเก็บใช้ได้นาน

-อัง คาไรด์ ก็เก็บได้นานพอสมควรแต่ ก็ไม่ใช่ไม่คายประจุนะครับ ดังนั้นเวลาเลือกซื้อดูวันผลิตด้วยก็ดีครับ แต่ที่สำคัญคือวันหมดอายุ ส่วนใหญ่จะบอกเป็น ปี หรือเดือนปี เช่น 2010 หรือ Jul 2010

http://www.thaicpf.com/webboard/index.php?topic=547.0

Thursday, March 26, 2009

การเดินทางไป Centara Grand at Central World ชั้น 22


การเดินทางไป Centara Grand at Central World ชั้น 22
1. ผู้ที่เดินทางมาโดยรถไฟฟ้า BTS
ท่านสามารถลงรถไฟฟ้า BTS ที่สถานีสยาม หรือชิดลมก็ได้ ในกรณีที่ท่านมาถึงก่อน เวลา 10 นาฬิกา (CentralWorld เปิด 10.00 นาฬิกา) ขอให้ท่านใช้เส้นทาง Blue Line บน Sky Walk เมื่อมาถึงประตูใหญ่บนSky Walk ท่านจะต้องขึ้นบันไดเลื่อนทางซ้ายมือ เดินเข้าสู่อาคารสำนักงาน (The Offices) หลังจากนั้นให้ลงบันไดเลื่อนไปยังชั้น 1 ของอาคารสำนักงาน มองทางด้านขวามือจะพบทางออก ซึ่งจะมี รปภ.ยืนอยู่ ให้เดินออกจากอาคารสำนักงาน ตามเส้นทาง Blue Line เพื่อไปยังทางเดินเข้าโรงแรม Centara Grand ที่ชั้น G แล้วจึงขึ้นลิฟท์ไปสู่ศูนย์ประชุมชั้นที่ 22
สำหรับท่านที่มาถึงหลังเวลา 10.00 นาฬิกา สามารถใช้เส้นทาง Red Line ผ่านห้าง Central World ท่านจะต้องลงบันไดเลื่อนไปยังชั้น 1 ของ Central World แล้วเดินตรงไปยังบริเวณ Atrium จะพบลิฟท์แก้ว ให้เดินไปทางซ้ายมือ เพื่อไปยังทางเดินเข้าโรงแรม Centara Grand ที่ชั้น G แล้วจึงขึ้นลิฟท์ไปสู่
ศูนย์ประชุมชั้นที่ 22

2. ท่านที่เดินทางมาด้วยรถยนต์มีทางเข้า ดังนี้
ทางที่ 1 ถนนราชดำริ
เมื่อท่านเข้าสู่ถนนราชดำริแล้ว โปรดอย่านำรถลงไปจอดชั้นใต้ดินของห้าง ขอให้ขับเลยไปจนเกือบจะถึงสะพานข้ามไปยังประตูน้ำ เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนเลียบห้างอีเซตันเพื่อเข้าสู่ที่จอดรถ (วงกลมสีแดงในแผนที่)
ทางที่ 2 ถนนพระราม 1
ทางเข้าจะอยู่ติดกับกำแพงวัดปทุมวนาราม ขับไปตามเส้นทาง Green Line โดยท่านสามารถให้ Taxi ส่งที่หน้าโรงแรม Centara Grand หรือ ขับเลยไปยังที่จอดรถ (วงกลมสีแดงในแผนที่)

Monday, March 2, 2009

วิธีดู Temporary Files ใน IE7

วิธีดู Temp ใน IE7

ถ้าเข้า Tools > Internet Option > Browsing History > Settings > View Files แบบนี้จะไม่เห็น Temp ไฟล์อะไรข้างในเลย ดังนั้นจึงจะต้องทำตามด้านล่างนี้

ในช่อง Address Bar บน IE หรือ Explorer ให้ใส่ copy path ด้านล่างนี้ไปใส่ได้เลย ก็จะสามารถเห็นไฟล์ temp ได้
C:\Users\Owner\AppData\Local\Microsoft\Windows\Temporary Internet Files\Content.IE5